มารู้จักน้ำกระด้างกันดีกว่า

น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภค อาบน้ำ ทำความสะอาดสิ่งต่าง ๆ และประโยชน์อื่นๆอีกมากมาย เมื่อมีสิ่งเจือปนในน้ำเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้น้ำนั้นไม่เหมาะสมกับการบริโภคในชีวิตประจำวัน และในบทความนี้จะกล่าวถึงความกระด้างของน้ำ

น้ำกระด้างมี 2 ประเภท ได้แก่

 1.  น้ำกระด้างชั่วคราว

หมายถึง น้ำในสภาพปกติทั่วไป สามารถกำจัดความกระด้างด้วยการน้ำไปต้ม

ซึ่งความร้อนจะทำให้ไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแม็กนีเซียม

ซึ่งเกาะตัวรวมกับโมเลกุลของน้ำระเหยไป และทำให้เกิดตะกอน

 

สามารถแก้ไขได้ด้วยการกรองโดยใช้เครื่องกรองน้ำที่มีสารกรองชนิดทีดึงแคลเซียมและแม็กนีเซียมออก

เพื่อปรับสภาพน้ำพร้อมยังลดช่วยปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้น้ำกระด้างกับอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านได้

 

2. น้ำกระด้างถาวร

หมายถึง น้ำที่มีสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนตหรือแคลไซต์ปนอยู่มาก

ไม่สามารถกำจัดด้วยการต้มได้น้ำกระด้าง จึงมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน

เมื่อเราใช้น้ำกระด้างอาบน้ำหรือล้างมือสบู่ จะไม่เกิดฟองกับน้ำประเภทนี้แ ละเช็ดคราบสบู่ออกจากตัวไม่เกลี้ยง

 

น้ำประเภทนี้จะพบได้มากในแหล่งน้ำบาดาล ซึ่งมีหินพื้นเป็นหินปูน

ความเป็นด่างของน้ำประเภทนี้ น้ำกระด้างนั้นไม่เหมาะสำหรับพืชหลายชนิด รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดเช่นกัน    

ดังนั้นจึงนับได้ว่า น้ำกระด้างไม่เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน

 

การเกิดตะกรัน สามารถเกิดขึ้นในน้ำอุณหภูมิปกติได้เมื่อน้ำมีความกระด้างสูงมาก และในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง

จะเกิดตะกรันได้ง่ายและรวดเร็วกว่าน้ำอุณหภูมิปกติมาก

ภายในระบบน้ำร้อนอาคาร/โรงแรม ที่มีการใช้ระบบน้ำร้อน จึงควรจะปรับสภาพน้ำ ให้อ่อนลง

เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ทำความร้อน และนอกจากนี้ ยังจะช่วยยืดอายุการใช้งานของท่อต่างๆได้อีกด้วย

เนื่องจากน้ำกระด้างส่งผลให้เกิดสนิมในท่อได้เร็วขึ้น

        

ระดับความกระด้างของน้ำ

•       น้ำอ่อน 75 มก./ล. CaCO3 หรือน้อยกว่า

•       น้ำค่อนข้างกระด้าง 75 - 150 มก./ล. CaCO3

•       น้ำกระด้าง 150 - 300 มก./ล. CaCO3

•       น้ำกระด้างมาก 300 มก./ล. CaCO3 หรือมากกว่า

ดังนั้น ท่านจะต้องทราบว่าน้ำที่ท่านใช้อยู่ มีความกระด้างประมาณเท่าไร และเป็นชนิดไหน เพื่อเลือกวิธีกำจัดที่เหมาะสมต่อไป

 

วิธีสังเกตน้ำบ้านเรากระด้าง ดูยังไง

จุดสังเกตคือ เวลาเราล้างสบู่ หากเราใช้น้ำที่มีความกระด้างสูงนั้น สบู่จะมีฟองน้อยและล้างออกได้ง่าย

ในทางกลับกันนั้น น้ำที่มีความกระด้างต่ำ จะมีฟองเยอะ และล้างสบู่ออกได้ยากกว่า

เบื้องต้น สำหรับครัวเรือน สามารถแก้ปัญหาได้โดยการใช้เครื่องทำน้ำอ่อน

 

หลายคนอาจจะสงสัย เครื่องกรองทำน้ำอ่อนคืออะไร

เครื่องกรองทำน้ำอ่อนคือ ระบบทำน้ำอ่อนโดยการดึงความกระด้างออกไปจากน้ำ 

ความกระด้างที่ว่าคือสารจำพวก Ca, Mg ที่ปะปนอยู่ในน้ำ 

โดยน้ำที่มีความกระด้างสูงนั้น จะส่งผลให้เกิดหินปูน หรือตะกรัน 

น้ำประเภทนี้ มักเป็นน้ำที่อยู่กับแร่ธาตุ เช่น น้ำบาดาล เป็นต้น

ในการผลิตน้ำอ่อนนั้นก่อนที่จะทำน้ำอ่อน หรือ Softener เราจะต้องมีการกำจัดความขุ่นก่อนโดยอาจจะใช้เครื่องกรองทราย หรือ เครื่องกรอง Carbon ขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำดิบ

ต่อมาเป็นขั้นตอนการทำ Softener เราจะใช้สารกรองประเภท Cation Resin

โดยเมื่อน้ำผ่านสารกรอง สารกรองจะทำการจับความกระด้างในน้ำเอาไว้จนกระทั่งสารกรองอิ่มตัว

เมื่อสารกรองอิ่มตัวแล้วในการล้างคืนสภาพสารกรอง

เราจะใช้น้ำเกลือเข้าไปแช่สารกรองไว้ เพื่อให้สารกรองกลับมาทำวานได้เหมือนเดิม

 

ข้อดี และข้อเสียของความกระด้างของน้ำ

น้ำที่มีความกระด้างอยู่ในปริมาณพอเหมาะ จะมีความกระด้างประมาณ 75-150 mg/L 

จะทำให้น้ำมีรสชาติที่ดี

 

ส่วนน้ำที่มีความกระด้างน้อยหรือที่เรียกว่า น้ำอ่อน จะทำให้เกิดการกัดกร่อนเมื่อนำไปซักล้างจะรู้สึกลื่น และล้างฟองออกยาก

น้ำกระด้างมากกว่า 300 mg/L ทำให้เปลืองผงซักฟอกและสบู่ในการซักล้าง

และน้ำดื่มที่มีความกระด้างสูงจะมีรสชาติไม่พึงประสงค์

 

แก้ปัญหาอย่างไรแนะนำ?

มี 2 แบบ คือ

1. แบบใช้ทั้งบ้าน หรือใช้เฉพาะจุด เช่น คือติดเครื่องทำน้ำอ่อนต่อเข้าเครื่องชงกาแฟ เครื่องทำน้ำแข็งหรือใช้เครื่องกรองน้ำดื่ม เพื่อช่วยกรองก่อนการใช้งาน มักจะใช้ในครัวเรือนที่มีเครื่องชงกาแฟ หรือต้องการลดความกระด้างของน้ำ หรือร้านกาแฟ ออฟฟิสขนาดเล็กๆ

2. แบบทั้งระบบ ตัวใหญ่ที่มีสารกรองน้ำอ่อน เน้นใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการลดความกระด้างของน้ำ เช่น โรงงานผลิตน้ำแข็ง

คาดว่า เราคงได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำกระด้างไปในระดับหนึ่ง เป็นประโยชน์ไม่มาก ก็น้อยนะคะ 

หากยังมองหาเครื่องกรองน้ำดื่ม เครื่องกรองน้ำใช้ หรือเครื่องทำน้ำอ่อนอยู่ละก็ อย่าลืมพิจารณาเครื่องทำน้ำอ่อน เพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้านเราด้วยนะคะ

น้ำที่ดื่มสะอาดแล้ว น้ำที่เราใช้ก็ควรจะสะอาดด้วยเช่นกันค่ะ